ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก อายุน้อยก็เป็นได้

หลายๆ คนอาจไม่รู้ว่ามี “ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก” เนื่องจากเข้าใจว่า ออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เกิดกับพนักงานออฟฟิศตามชื่อของโรค แต่ความจริงแล้วโรคนี้เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากลักษณะการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง นั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลานาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลากหลายด้าน เช่น อาการปวดตึงกล้ามเนื้อ อาการปวดหลัง อาการปวดเข่า หรือข้อต่อต่างๆ เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นออฟฟิศซินโดรมเองก็ไม่ต่างจากผู้ใหญ่เลยคือ การนั่งในท่าเดิมนานๆ การใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือมือถือต่อเนื่อง หรือแม้แต่การนั่งเรียนหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานและยังต้องทำการบ้านต่อจนถึงดึกทุกวันก็สามารถทำให้เด็กเป็นออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน!!

อาการ ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก

อาการที่เกิดจากออฟฟิศซินโดรมในเด็กมีได้หลากหลายไม่ต่างจากผู้ใหญ่ ทั้งอาการปวดกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อตึง เมื่อยตามร่างกาย ปวดกระบอกตา ปวดหัวคล้ายไมเกรน มีอาการคลื่นไส้อาเจียนบ้าง หรือในบางคนอาจมีอาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก 

ในเบื้องต้นเด็กบางคนอาจไม่ทราบว่าตัวเองเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ จึงไม่ได้บอกผู้ปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นที่เป็นช่วงวัยของการเริ่มมีโลกส่วนตัว การสื่อสารกับผู้ปกครองอาจน้อยลงไปด้วย ดังนั้นผู้ปกครองที่ทราบถึงพฤติกรรมเบื้องต้นของเด็กๆ อยู่แล้วว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรมสามารถตรวจสอบอาการเบื้องต้นเพื่อเข้ารับการรักษาก่อนที่จะกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังไปเสียก่อน

ตรวจสอบว่าเด็กๆ 

เป็นออฟฟิศซินโดรมหรือไม่

Behap ขอแนะนำวิธีการตรวจสอบอาการออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น 3 วิธี ที่ผู้ปกครองสามารถทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน

1.กดบริเวณบ่าของเด็กด้วยนิ้วโป้ง ค่อยออกแรงทีละน้อย หากเด็กมีอาการปวดตึง นั่นอาจเป็นสัญญาณของออฟฟิศซินโดรม

2.ยืดคอของเด็กโดยให้เด็กหันหน้าเล็กน้อยให้สายตามองตรงไปบริเวณรักแร้ จากนั้นผู้ปกครองออกแรงเบาๆ ดันบริเวณบ่าและศีรษะ ให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่ายืดออก หากมีอาการตึงอาจเป็นสัญญาณของออฟฟิศซินโดรม

3.สอบถามเกี่ยวกับอาการเมื่อย ว่าเด็กๆ มีอาการเมื่อยเมื่อนั่งหรือไม่ อาจเป็นได้ทั้งการเมื่อยหลัง เมื่อยคอ หรือแม้แต่การปวดบริเวณเบ้าตา ซึ่งเป็นสัญญาณของการอยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ เสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรมในเด็ก

ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก ดูแลหรือรักษาได้อย่างไรบ้าง

เบื้องต้น Behap ขอแนะนำให้พาเด็กๆ มาพบคุณหมอหรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรับการวินิจฉัยอาการเพิ่มเติมว่าเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือเป็นโรคกล้ามเนื้อหรือไม่ ถ้าหากเป็นออฟฟิศซินโดรมสามารถรับการรักษา “กายภาพบำบัด” โดยนักกายภาพบำบัดร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเมื่ออยู่ที่บ้านง่ายๆ ดังนี้

1.การยืดเหยียดกล้ามเนื้อสม่ำเสมอ

2.การปรับเปลี่ยนอิริยาบถทุก 30 นาที อาจลุกขึ้นมาเพื่อทำการยืดกล้ามเนื้อ ขยับตัว สะบัดแขนสะบัดขาก่อนที่จะนั่งทำการบ้านหรือเรียนต่อ

3.เปลี่ยนเก้าอี้และโต๊ะทำงานให้เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดย

  • เลือกเก้าอี้และโต๊ะที่นั่งแล้วจอคอมอยู่ในระดับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อย 
  • ความสูงของโต๊ะที่วางคอมพิวเตอร์จะต้องสูงเท่าศอกเมื่อนั่ง
  • เมื่อนั่งเก้าอี้แล้วสามารถวางขาได้ ถ้าหากไม่ถึงให้หาอะไรมารองเท้าเพิ่ม

4.หลีกเลี่ยงการนั่งหรือการใช้จอทั้งมือถือและคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

5.ออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อในส่วนที่กล้ามเนื้ออ่อนแอและเกิดอาการล้า

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม?

1.อาจทำให้กลายเป็นโรคเรื้อรังทั้งในระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทั้งกระดูกสันหลังคด หมอนรองกระดูกทับเส้น ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่ใช้เวลาในการสะสมก่อนที่จะมีอาการรุนแรง

2.อาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าซึ่งเป็นผลมาจากอาการปวดกล้ามเนื้อและอาการเครียดสะสมที่เกิดจากความไม่สบายเนื้อสบายตัว ส่งผลต่อสภาวะอารมณ์โดยรวม

3.เกิดเป็นโรคอ้วนหรือไขมันสะสมหากนั่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน ไม่ออกกำลังกายหรือวันหนึ่งๆ ขยับตัวเพียงนิดเดียว

จะเห็นได้ว่าโรคออฟฟิศซินโดรมในเด็กมีความใกล้ตัวมากกว่าที่คิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่เกือบทุกสิ่งกลายเป็นออนไลน์ ต้องดำเนินการผ่านคอมพิวเตอร์ เด็กจึงมีการใช้งานคอมพิวเตอร์บ่อยและสูงมากขึ้น ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองควรหมั่นเช็คอาการของลูกเสมอและดูแลพฤติกรรมของเด็กๆ เพื่อไม่ให้เป็นออฟฟิศซินโดรมเรื้อรัง

สามารถรับคำปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรมในเด็กและการรักษาได้ที่ line: @behapwellness หรือโทร (นานา) 081-811-3455, (บางนา) 092-391-9466

อ่านต่อเรื่องการรักษาออฟฟิศซินโดรม

อ่านต่อเรื่องผลกระทบจากการใช้หน้าจอเป็นเวลานาน

รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วย น้ำหล่อลื่นข้อเข่า

ปัญหาข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปี และในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่อายุ 40 ปี เนื่องจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต ที่มีการกินของมันของหวานมากขึ้น แต่การออกกำลังกายน้อยลงรวมถึงมีการนั่งทำงานเป็นเวลานานทำให้กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เข่าจึงต้องรับน้ำหนักตัวมากขึ้น ผิวข้อเข่าจึงยิ่งสึกกร่อนเร็ว

วันนี้ Behap อยากชวนทุกคนมาสำรวจว่ามีสัญญาณของข้อเข่าเสื่อมต่อไปนี้กันหรือไม่

  • ในเบื้องต้นจะมีอาการปวดเข่าเมื่อลุกนั่งหรือขึ้นลงบันได อาการจะดีขึ้นเมื่อได้นั่งพัก
  • เหยียดหรืองอเข่าได้ไม่สุด
  • มีอาการข้อเข่าฝืดโดยเฉพาะในตอนเช้า
  • เมื่อขยับจะรู้สึกได้ถึงการเสียดสีกันของข้อเข่า

การฉีดน้ำหล่อลื่นข้อเข่าช่วยได้อย่างไร?

การฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นอีกหนึ่งวิธีรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมสำหรับผู้ที่เคยทำกายภาพบำบัดหรือทานยามาแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น ซึ่งน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าเป็นเทคโนโลยีฯ ทางการแพทย์ในการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการฉีดสารที่มีโมเลกุลความหนักและความหนืดใกล้เคียงสารน้ำหล่อลื่นในเข่า (Hyaluronic) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในเข่าที่น้ำหล่อเลี้ยงเสื่อม

ผลลัพธ์ที่ได้จากการฉีดคือ ช่วยลดการอักเสบ กระตุ้นการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงเพิ่ม และเป็นการบำรุงกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่า ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัดหรือต้องการชะลอการผ่าตัดออกไป 

จำเป็นต้องฉีด 3 เข็มไหม?

ในการรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า แพทย์จะทำการฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-5 สัปดาห์ สำหรับเข็มที่ 1 และ 2 จะช่วยในการเจือจางการอักเสบภายในข้อเข่า ดังนั้นผลการลดปวดและการช่วยการทำงานของเข่าจะเห็นผลดีในเข็มที่ 3 ผู้ป่วยจะสามารถขยับเข่าได้ดีมากยิ่งขึ้น หลังฉีดครบ 3 เข็มอาการปวดจะหายเป็นระยะเวลา 6 เดือน – 1 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและการปฏิบัติตนหลังรับการรักษา

หลังฉีดสามารถทำกิจวัตรได้ปกติ แต่ในช่วง 2 – 3 วันแรกควรเลี่ยงการเดินมากๆ เพื่อให้เข่าได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่

ใครที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมและสนใจรับการรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่าสามารถติดต่อขอคำแนะนำกับแพทย์ของทาง Behap ได้เลยที่ line: @behapwellness หรือโทร (นานา) 081-811-3455 , (บางนา) 092-391-9466