กายภาพบําบัดกับการบาดเจ็บเฉียบพลัน (ACUTE INJURY)

การบาดเจ็บเฉียบพลัน (ACUTE INJURY)
การบาดเจ็บแบบฉับพลันและมักมีอาการปวดรุนแรง
มักพบได้มากจากการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การบาดเจ็บ
จากการเล่นกีฬาหรือการออกกําลังกาย ข้อเท้าเคล็ด
กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นฉีกขาด เป็นต้น

ปกติร่างกายซ่อมแซมการบาดเจ็บอย่างไร
เริ่มจากระยะที่มีการอักเสบ (Inflamation Phase) จะมีอาการปวด บวม แดง และรู้สึกร้อน   เนื่องจากร่างกายมีการหลั่งสารอักเสบมายังบริเวณนั้น
ระยะการซ่อมแซม (Proliferation phase) เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มซ่อแซมส่วนที่บาดเจ็บ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมก็อาจทําให้ส่วนที่บาดเจ็บเกิดเป็นพังผืด หรือแผลเป็น ได้นะ ระยะนี้ใช้   เวลาราวๆ 24-48 ชั่วโมงแรก ซึ่งอาจมากที่สุดถึง 6 เดือนในบางโครงสร้าง
ระยะการปรับรูปร่างใหม่ (Remodelling phase) เป็นระยะที่
ร่างกายทําการปรับปรุงเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการซ่อมแซมให้มีความสมบูรณ์และเพื่อให้โครงสร้างต่างๆ มีการเคลื่อนไหวที่เป็นปกติตามเดิม อาจใช้เวลาสูงสุดถึง 2 ปี ในระยะนี้หากเกิดการบาดเจ็บซํ้าหรือรักษาไม่ดีจะทําให้โรคที่เป็นเรื้อรังไม่หายสักที

บาดเจ็บแล้วรักษาเบื้องต้นยังไง


ไปหาหมอให้เขารักษาให้             ห้้ามนวดคลึงใช้ความร้อนยาร้อน         รักษาเองไง ด้วย SIR! PRICE!

P Protect
ใช้อุปกรณ์ต่างๆเพื่อป้องกันการลงนํ้าหนักและเป็นการ
จํากัดการเคลื่อนไหวที่อาจทําให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติมในระยะสั้นๆ
เช่น ไม้เท้า การเข้าเฝือก การใช้สายคล้องคอ

R Rest
เป็นช่วงของการพักใช้ข้อต่อและกล้ามเนื้อสักพักนึง
เพื่อให้เกิด
กระบวนการซ่อมแซมการบาดเจ็บได้สมบูรณ์มากขึ้น
เพื่อไม่ให้
โครงสร้างที่บาดเจ็บมีการบาดเจ็บเพิ่มเติมจากท่าทางและการเคลื่อนไหวที่ทําให้เกิดการบาดเจ็บซํ้าได้

I Ice
ในระยะการบาดเจ็บเฉียบพลันมีความจําเป็นอย่างยิ่งในการรักษาด้วยความเย็นเพื่อลดการหลั่งสารอักเสบต่างๆซึ่งทําให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงบวม แดง ร้อน ซึ่งหากใช้ความร้อน
ทุกประเภทในระยะนี้จะทําให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้นซึ่งการประคบเย็นควรทําครั้งละไม่เกิน10-15 นาที และสามารถทําซํ้าได้ทุก 2 ชั่วโมง

C Compression
ในกรณีที่อาการบวมการพันเพื่อสดบวมก็มีความจําเป็นเช่น
เดียวกันเพราะนอกจากการพันผ้ายืดจะช่วยลดอาการบวมแล้ว
ยังเป็นการช่วยพยุงกล้ามเนื้อและข้อต่อได้อีกด้วยแต่ต้องใช้แรง
ในการพันในระดับที่พอดีเพื่อให้เลือดยังไหลเวียนได้อยู่
ถ้า
เขียว+ชา แกะออกทันทีจ้า แน่นเกิ๊น

E Elevation
หากมีอาการบวมมากใช้การยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูงกว่าระดับ
ลําตัวเพื่อเป็นการช่วยให้เกิดการไหลย้อนกลับของของเหลวไป
ยังร่างกายส่วนต้น

เตือนแล้วนะ!
เป็นใหม่ๆน่ะ ห้ามนวด
ห้ามคลึง ห้ามประคบร้อน
ไม่อย่างนั้นอาการของคุณแย่แน่

นักกายภาพบําบัดช่วยคุณได้!
นักกายภาพบําบัดจะทําการซักประวัติ ตรวจประเมินและวินิจฉัยโรค
ความบกพร่องในการเคลื่อนไหว
จํากัดการทํากิจกรรมเคลื่อนไหว รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยส่งเสริม ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคด้วย
วิธีการทางกายภาพบําบัด

ก่อนจะรักษาก็ต้องมาซักประวัติและตรวจร่างกายกัน
ก่อนเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างที่บาดเจ็บว่ามีกลไกการบาด
เจ็บอย่างไร  มีโครงสร้างข้างเคียงใดๆได้รับผลกระทบ
รวมทั้งความจํากัดในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและ
ข้อต่อรวมทั้งความรุนแรงและความระคายเคืองของอาการ

เทคนิคการรักษาทางกายภาพบําบัดในระยะบาดเจ็บแบบฉับพลัน 
 มักใช้เทคนิคที่เน้นในด้านการจัดการความเจ็บปวด   การลดการอักเสบ การส่งเสริมการเคลื่อนไหวของข้อต่อและกล้ามเนื้อรวมทั้งการฟื้นฟูการรับรู้ของข้อต่อภายหลังการบาดเจ็บ

รักษาอย่างไรบ้าง
ใช้เครื่องมือทางกายภาพบําบัด  (Electrotherapy & Physical Agents)   เช่น Therapeutic Ultrasound,   Electrical Stimulation, Cryotherapy   เป็นต้น
การใช้เทคนิคการดัดดึงข้อต่อต่างๆ   (Manipulative Treatment) และการออกกําลังกายเพื่อการรักษา (Therapeutic Exercise)
การใช้อุปกรณ์พยุงข้อต่อและกล้ามเนื้อ   เช่น Elastic Bandage, Rigid   Taping, Kinesotaping

ถ้าคิดไรไม่ออกมาพบนักกายภาพบําบัดเถอะ
เป็นปุ๊บ   
มาปั๊บ หายไว ทันใจแน่นอน!!!